ก่อนสอบ
1. ทบทวน ท่อง ทฤษฎีบทหรือนิยาม ของบทเรียนที่จะมีการสอบ ให้ได้อย่างขึ้นใจ ชนิดที่ว่าแม้พิสูจน์โจทย์ข้อสอบนั้นไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถแสดง
ความสัมพันธ์ของโจทย์กับทฤษฎีบทหรือนิยามนั้นๆ ให้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบอ่านได้อย่างถูกต้อง รับรองว่าต้องได้คะแนนข้อนั้นอย่างแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าเขียนเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาที่ใช้ในข้อนั้นมากน้อยแค่ไหน
2. ทบทวนแบบฝึกหัดทุกข้อ ที่อาจารย์ผู้สอนชอบย้ำนักหนาในห้องว่า "ข้อสอบก็ออกในแนวนี้ละ" หรืออาจารย์บางท่านก็พูดย้ำตรงๆ เลยว่า "ข้อนี้ออก............นะ" ดังนั้นเวลาเรียนถ้าเจออาจารย์พูดแบบนี้ ก็อย่าลืมเอาปากกาแดงทำ * กาไว้ที่แบบฝึกหัดข้อนั้นให้ใหญ่ๆ เลยทีเดียว รับรองไม่พลาด ถ้าข้อไหนทวนหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ให้ทำหลายๆรอบ เขียนหลายๆรอบ เดี๋ยวจำได้เอง
3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จะใช้ในการสอบให้พร้อม ดินสอปากกายางลบ บัตรประจำตัวสอบ จับใส่ถุงดินสอเพื่อให้หยิบง่าย และสำคัญคือห้ามนอนดึกเพราะจะทำให้หัวตื้อ นอนให้พอ อย่างน้อย 6-7 ชั่วโมง อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิทำใจนิ่งๆว่างๆก่อนนอนสัก 5 นาที จะทำให้ใจสงบและหลับอย่างเป็นสุข พร้อมจะเผชิญอุปสรรค ของวันใหม่
4. ตื่นนอนเช้าๆวันใหม่ ล้างหน้าล้างตาให้สดใส หยิบเนื้อหาทั้งหมดที่อ่านไปก่อนนอนเมื่อคืนมาทบทวนอีกรอบ ตลอดจนทฤษฎีบท แบบฝึกหัด โดยอ่านแบบผ่านๆ สายตา ความเงียบสงบของเช้าตรู่จะช่วยให้จำได้ดี บางคนโชคดีเก็บเอาที่อ่านเมื่อคืนไปฝันถึง จะจำติดหัวไปถึงเย็นเลยทีเดียว
5. ถึงหน้าห้องสอบก่อนเวลา ตรวจเลขที่นั่งสอบของตนเองให้เรียบร้อย อย่าล่กเพราะจะทำให้ลืมที่อ่านมา เตรียมตัวให้พร้อมสอบ ดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย เตรียมบัตรประจำตัวสอบกับเครื่องเขียนให้เรียบร้อย ตรงนี้ใครจะหยิบหนังสือมาเปิดดูก่อนสอบอีกรอบก็ไม่ผิดกฎิกาอะไร แต่ให้เน้นไปที่สิ่งที่ต้องท่องต้องจำ เช่นสูตรยาวๆที่คิดว่าจะลืม
6. เมื่อผู้คุมสอบเรียกเข้าห้อง เข้านั่งประจำโต๊ะ วางอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องเขียนในทิศทางที่หยิบใช้ได้ง่าย ถ้ากรรมการแจกกระดาษทด ก็หยิบเอากระดาษทดนั่นแหล่ะ มาเขียนในสิ่งที่เราท่องมาจากข้อที่แล้วให้หมด เขียนเสร็จแล้วเราจะนั่งยิ้มสบาย มั่นใจว่าไม่ลืม หรือจำไม่ผิดแน่นอน
7. นั่งชิวๆรอคำสั่งเริ่มสอบ ทำหัวให้แล่นๆเข้าไว้จะได้ทำข้อสอบได้เร็ว และมีเวลาทบทวนได้มากขึ้น
ขณะทำการสอบ
1. เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง อย่างแรกที่ต้องดูเลยคือ ข้อสอบที่แจกมาให้เรา ชุด วิชา ตรงกับที่เราสอบหรือไม่ ข้อสอบมีกี่ข้อ กี่หน้า ลองเปิดผ่านๆดูให้ครบก่อน ถ้าหน้าหายไปขอเปลี่ยนแต่เนิ่นๆเลย อย่ารอให้ไปเจอทีหลังเดี๋ยวจะเสียเวลามาก เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่ ถ้ามีให้พลิกข้อสอบ ไปทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงกลับมาเขียนข้อมูลส่วนตัวบนหัวกระดาษคำตอบให้เรียบร้อย
2. พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัย
ประมาณ 3 เท่า ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้าย รุ่นพี่ที่เก่งๆกระซิบมาว่า ทำข้อสอบให้เสร็จในครึ่งเวลา แล้วเอาเวลาครึ่งหลังมาตรวจสอบว่าเราทำผิดไปหรือไม่ จะมีโอกาสได้คะแนนเต็มสูงลิ่วเลยล่ะ
3. เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย
4. อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร ให้
วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้นๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ มีผู้เข้าสอบเป็นจำนวนมากต้องเสียใจกับความผิดพลาด เพราะละเลย ไม่อ่านคำสั่งให้ดี เกี่ยวกับการแสดงคำตอบที่ถูกต้องมามากต่อมากแล้ว
5. ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากข้อแรกเสมอ ให้เราเริ่มทำจากข้อที่ง่ายที่สุด หรือที่คิดว่าทำได้ ในเวลาไม่นาน ก่อน เก็บคะแนนตุนไว้ แล้วเอาข้อยากๆไปทำทีหลัง เผื่อทำไม่ทันเวลา จะได้ไม่เสียดาย
6. ในขณะทำข้อสอบให้บริหารเวลาไปด้วยตลอด ดูนาฬิกาเสมอๆว่าเวลาผ่านไปเท่าไหร่แล้ว ทำไปได้แล้วกี่ข้อ วิธีนี้จะทำให้เรารู้ตัวเองว่าทำข้อสอบช้าไปหรือเปล่า
7. กระดาษทด ใช้ให้คุ้มค่า เขียนอย่างมีระเบียบจะดีกว่าทดอย่างสะเปะสะปะ ให้พับตามยาวเป็นสามส่วน คลี่ออกมาแล้วเอาดินสอปากกาตีเส้นไว้ จะได้ด้านละสามส่วน (รวมสองหน้าเป็น 6 ส่วน) นี่แหล่ะทริกเด็ด เวลาทดแต่ละข้อให้เขียนเลขข้อเอาไว้ด้วยแล้วค่อยๆเขียนทีละข้อแบบแสดงวิธีทำ ขึ้นข้อใหม่ก็ขีดเส้นแบ่งไว้ อันนี้แหล่ะเวลาเรากลับมาทวนเราจะเห็นได้เร็วมากเลยว่าข้อไหนเราทำผิดหรือพลาดอะไรไป เขียนสวยหน่อยก็ดีเพราะต้องย้อนกลับมาดู
8. สำหรับข้อสอบอัตนัย ให้ใช้วิธี สูตรไหน อาจารย์คนไหนสอนมา ก็เอามาเขียนให้คนนั้นอ่าน อย่าเอาสูตรที่ได้มาจากการเรียนพิเศษมาเขียนให้อาจารย์ดูนะเดี๋ยวมีงอล แล้วพาลจะถูกหักคะแนนไปเปล่าๆ ค่อยๆเขียนเป็นขั้นเป็นตอนอย่างละเอียด อย่าเขียนลัด เพราะถ้าผิดขึ้นมาจะยังได้คะแนนสงสารจากอาจารย์ในส่วนที่เขียนละเอียดบ้าง
9. ใช้เวลา
ช่วงที่เราแบ่งไว้เพื่อตรวจสอบคำตอบ กลับมาดูกระดาษทดที่เราเขียนไว้อย่างสวย ตรวจดูดีๆอีกครั้งว่า เราอ่านโจทย์เข้าใจหรือไม่ ใส่ตัวแปรถูกไหม ส่วนที่ต้องคำนวนเลข ตัดเลข ทำถูกหรือเปล่า ข้อสอบถามอะไร เราตอบคำถามที่ข้อสอบถามหรือไม่ ตอนนี้แหล่ะจะทำให้เราเห็นเลยว่าเราทำผิดส่วนไหนไปบ้าง ไม่ต้องเสียคะแนนในส่วนที่เราควรจะได้ ยิ่งทวนหลายรอบ เรายิ่งมั่นใจได้มากขึ้น
10. ก่อนหมดเวลาก็ตรวจทานรวมๆดูอีกรอบว่า เขียนชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวสอบ ถูกต้องหรือเปล่า กากบาท
วงกลม ฝน อะไรถูกต้องตามที่โจทย์สั่งนะ ถ้ายังไม่ถูกก็รีบแก้ไข แล้วก็ส่งข้อสอบ เดินออกจากห้องสอบอย่างอารมณ์ดี ทีนี้แหล่ะจะอยากให้ประกาศคะแนนสอบเร็วๆ อิอิ