ดู VDO ได้ 24 ชม. เริ่มเรียนได้ทุกวัน

Dektalent ช่วยให้การเรียนคณิตศาสตร์ กลายเป็นเรื่องง่าย

 

 

เจาะลึก: การสอบ วิชาสามัญ กสพท.

สถานะ: ทีมงานเด็กทาเล้นท์.คอม
วันที่: 28 พ.ย. 2553, 09:16:03

เจาะลึก: การสอบ วิชาสามัญ กสพท.


แนะแนว โดย ทันตแพทย์ สม สุจีรา

คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ ก็ประกาศกันไปเรียบร้อยแล้ว ใครที่ได้ 18 คะแนนขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ก็คงใจชื้นขึ้นมาบ้าง (แต่ก็ไม่แน่ ปีที่แล้ว มีนิสิต นักศึกษาแพทย์ที่ได้คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ต่ำกว่า 15 คะแนน แต่สอบติดหลายคน)

หลังจากนี้ต้องเตรียมฮึดกันอีกครั้ง กับวิชาสามัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคะแนนเต็มถึง 28 คะแนน (ใน100 ของคะแนนเข้าแพทย์) และวิชานี้ การจะทำคะแนนให้ถึง 20 จะว่าไปแล้ว ง่ายกว่าวิชาเฉพาะแพทย์ เพราะข้อสอบวิทยาศาสตร์ ถ้าทำได้ก็ถูกแน่ ไม่เหมือนวิชาเฉพาะแพทย์ ที่คำตอบ ดิ้นไปดิ้นมาได้ (หลายข้อที่คิดว่าตอบถูก แต่ผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Part จริยธรรม คะแนนเฉลี่ยค่อนข้างต่ำคือ 44.8 ซึ่งผมเคยบอกแล้วว่า มีคำถามวัดความจริงใจในการตอบแทรกอยู่เป็นระยะๆ ดังนั้นการตอบโดยแสร้งเป็นคนดี คะแนนจะต่ำ)

วิชาฟิสิกส์ เคมี สำคัญต่อการเข้าแพทย์อย่างไร



สมัยที่ผมยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนแพทย์ศิริราช รามา ทำคะแนนสอบเข้าวิชาฟิสิกส์ เคมี ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม มีเป็นจำนวนมาก (แต่ชีววิทยา ยอมรับว่า การทำให้ได้เต็ม ยากมาก เพราะแนวคำถามและคำตอบดิ้นได้เช่นกัน)

ผมเองก็ยอมรับว่า สอบเข้าทันตแพทย์ได้ เพราะวิชาฟิสิกส์ เคมี เพราะสองวิชานี้ คะแนนจะทิ้งกันมาก ระหว่างคนที่ทำได้ กับทำไม่ได้ (คะแนนเฉลี่ย วิชาวิทยาศาสตร์ ของการสอบเข้าแพทย์อยู่ที่เพียง 38%) ดังนั้น ถ้าเราทำได้ทุกข้อโอกาสติดแพทย์สูงมาก ผมมีเคล็ดลับในการทำโจทย์สองวิชานี้มากมาย และไม่ต้องการให้สูญหายไป ผมจึงหยุดทำงานคลินิกบางวัน เพื่อมาติวให้น้องๆ เพียงแค่วันเดียว ก็เข้าใจทั้งหมดแล้ว ไม่ต้องใช้เวลาอะไรมากมาย ขึ้นอยู่กับเทคนิคการอธิบายมากกว่า

ส่วนวิชาท่องจำทั้งหลาย เช่น ภาษาไทย สังคม อังกฤษ ชีววิทยา คะแนนจะไม่ทิ้งห่างกันมากนัก ระหว่างนักเรียนที่ขยันด้วยกัน เพราะขึ้นอยู่กับ ความขยันในการท่องจำ (คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยอยู่ที่ ประมาณ 62% และสังคมศึกษามีคะแนนเฉลี่ยประมาณ 47% ) นักเรียนที่ขยันแต่ไม่เก่งวิชาเหล่านี้ สามารถประคองตัว ทำคะแนนอยู่ในระดับ 60 – 70 % ได้ แต่ นักเรียนที่เก่ง อังกฤษ ภาษาไทย สังคม ส่วนใหญ่จะไม่เก่งคำนวณ เพราะใช้สมองคนละส่วนกัน ทำให้ คะแนนส่วนคำนวณทิ้งห่างกันมาก จึงเป็นส่วนที่จะตัดสินว่า ใครจะได้เรียนแพทย์ และเมื่อได้เข้าไปเป็นนักศึกษาแพทย์แล้ว วิชาที่ใช้เยอะที่สุด คือวิทยาศาสตร์ เท่านั้น ภาษาอังกฤษในการเรียนแพทย์ จะเป็นศัพท์ทางเทคนิคส่วนใหญ่ คณิตศาสตร์ก็ซับซ้อนน้อยกว่า ม,ปลาย ภาษาไทย สังคม ไม่ต้องพูดถึง แทบไม่ได้ใช้เลย

ข้อสอบจะออกมาแนวไหน



แนวข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ของ กสพท. จะคล้ายๆข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีก่อนๆ (แต่ไม่เน้นดาราศาสตร์) ดังนั้น ถ้าทำข้อสอบย้อนหลังครบสิบปี จะทำได้อย่างแน่นอน ความจริงแล้ววิชาฟิสิกส์ เคมี สัมพันธ์กัน ดังนั้น ถ้าเก่งฟิสิกส์จะเก่งเคมีด้วย นอกจากนั้น ทุกบททุกตอนล้วนเกี่ยวข้องกัน ถ้าเข้าใจกลศาสตร์ ก็จะเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ เรื่องสนามแม่เหล็ก แรงระหว่างประจุไฟฟ้า ดังนั้น ไม่ควรเก็งว่า ข้อสอบจะออกเรื่องไหนมากกว่า แต่ควรอ่านให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งมี Master key ที่จะทำให้เข้าใจแบบองค์รวม เพียงขอให้รู้ Key เหล่านี้ ก็จะเข้าใจได้อย่างอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องท่องสูตรใดๆเลย

สำหรับข้อสอบในปีก่อนๆ จะเน้นไปที่กลศาสตร์ และ ไฟฟ้า ส่วนเรื่อง คลื่น แสง เสียง อะตอม นิวเคลียร์ ออกค่อนข้างน้อย สำหรับวิชาเคมี จะเน้นไปที่ สารชีวโมเลกุล กรด เบส สมดุลเคมี เคมีอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสอบเปลี่ยนแปลงทุกปี ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท อ่านให้ครอบคลุมทั้งหมดดีกว่า

วิชาสามัญ ที่กำลังจะสอบในวันที่ 22-23 มกราคม 2554 มีข้อสอบกี่ข้อและให้เวลากี่นาที

สำหรับปีที่แล้ว วิชาวิทยาศาสตร์ แบ่งข้อสอบออกเป็นสองชุด คล้ายๆ ชุด O-net กับ ชุด A-net ชุดแรกค่อนข้างง่าย ส่วนใหญ่จะได้คะแนนกันเยอะ แต่ชุดหลังยาก ทั้งสองชุด มีทั้งหมด 65ข้อ โดยเป็นเคมี 20 ข้อ ข้อละ 1.5 คะแนน ฟิสิกส์ 15ข้อ ข้อละ 2คะแนน และชีววิทยา 30ข้อ ข้อละ 1 คะแนน ให้เวลาทำ 2ชั่วโมง มีพักครึ่งระหว่างชุด ส่วนคณิตศาสตร์ มี 25ข้อ ให้เวลาทำ 2 ชั่วโมง เช่นกัน

วิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคม สอบวันเสาร์ ให้เวลาวิชาละสองชั่วโมงเหมือนกัน (ภาษาไทย+สังคม สอบพร้อมกัน 2 ชั่วโมง เป็นวิชาที่ง่ายที่สุด) ส่วนวิทยาศาสตร์ สอบวันอาทิตย์ ไม่รู้ปีนี้จะเหมือนปีที่แล้วหรือเปล่า


ควรวางแผนการสอบวิชาสามัญอย่างไร



ถ้าน้องๆคนไหน เก่งอังกฤษ ภาษาไทย สังคม อยู่แล้ว มาทำความเข้าใจ กับวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นสักหน่อย จะได้เปรียบมาก (เหมือนเสือติดปีก คือเป็นเสือในวิชาอังกฤษ ภาษาไทย แล้วติดปีกวิทยาศาสตร์เข้าไป) วิชาวิทยาศาสตร์ถ้าเข้าใจแล้ว ไม่ยากเลย เพียงแต่ต้องหาคนที่อธิบายให้เข้าใจได้เท่านั้น

สองเดือนต่อจากนี้ไป ขอให้น้องๆ เลิกเล่นเกม ดูภาพยนตร์ ท่องเที่ยว คุยโทรศัพท์ ฯลฯ สักระยะ เป็นสองเดือนที่แลกกับ อนาคตทั้งชีวิต ซึ่งผมผ่านมาแล้ว และขอบอกว่า คุ้มค่ามาก ยอมลำบากในช่วงนี้สุดๆ แล้วจะพบว่า หลังจากนั้นชีวิตจะเปลี่ยนไปอย่างมากมาย

วิชาที่ต้องท่องจำ ให้จดโน้ต แล้วนำติดตัวไปท่องในทุกสถานที่ หรือจะติดไว้ตามจุดต่างๆในบ้าน ก็ได้ เรียกว่า ใช้เวลาทุกวินาทีให้เป็นประโยชน์ที่สุด ส่วนวิชาที่ใช้ความเข้าใจ ก็ต้องเข้าใจก่อน แล้วไปหาโจทย์เก่าๆทำเยอะๆ ไม่ต้องท่องสูตร ถ้าเข้าใจ สูตรไปคำนวณเอาในห้องสอบก็ยังได้ ฟิสิกส์ เคมี ไม่มีสูตร สูตรเป็นเพียงการนำความเข้าใจมาร้อยเรียงเป็นตัวเลข ตัวอักษร

การสอบเข้า ก็เหมือนแข่งว่ายน้ำ เราจะไม่รู้ว่า คู่แข่งว่ายไปถึงตรงไหนแล้ว ต้องก้มหน้าก้มตาว่าย อย่างสุดแรงเกิด เมื่อถึงเส้นชัยเมื่อไหร่ เมื่อนั้น ถึงจะรู้ว่า เราชนะหรือแพ้ ดังนั้นช่วงนี้ มีแรงเท่าไหร่ ใส่ไปให้หมด อย่าลืมนะครับ ปีนี้ มียอดผู้เข้าแข่งขัน ประมาณ 20,000 คน แต่รับผู้เข้าเส้นชัย 1,400 คนแรกเท่านั้น

ขอบคุณ ทันตแพทย์ สม สุจีรา และยูนิแก๊ง
Thank you!

อยากเก่งคณิต อยากทำโจทย์แบบนี้ได้ มาสมัครเรียนคอร์สคณิตออนไลน์กับครูพี่โต๋กันค่ะ เรียนด้วยคลิป VDO พร้อมแบบฝึกหัด ไม่เหนื่อย ไม่ร้อน ไม่ต้องเดินทาง เรียนได้ 24 ชม. ไม่ต้องนัดเวลา ทบทวนได้ ถามได้ครูพี่โต๋ตอบเอง สนใจสมัครได้เรียนได้ทุกวัน

 

 

#1689 16 ม.ค. 2554, 17:38:26 แจ้งลบ
Thank you!
แสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า

กระทู้นี้ถูกล็อคไว้

กระทู้นี้ถูกล็อคไว้โดยผู้ดูแลระบบ ไม่สามารถโต้ตอบได้

 

หัวข้อยอดนิยมในบอร์ดนี้

 

หัวข้ออัพเดทล่าสุด

 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ขึ้นบน
อัพเดทล่าสุด: 04 ธันวาคม 2567   สงวนลิขสิทธิ์ 2553-2566 DekTalent.com เจาะลึก: การสอบ วิชาสามัญ กสพท. Page Load Time: 0.243 วินาที IN