วิกฤติ รับตรง! เด็กสละสิทธิจุฬาฯ เกือบ 90% ระบุ
คณะวิทยาศาสตร์ รับได้ 25 คน มาสัมภาษณ์ 8 คน แต่ตั้งใจจะเรียนจริงๆ มีเพียง 2 คน ทั้งนี้เกินกว่า
ร้อยละ 50 เล็งสละสิทธิ์ถ้าติดแพทย์ กสพท. แนะฝ่ายการเมืองใช้อำนาจเลิกรับตรง เหตุสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนจนกับคนรวย
นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ปฏิเสธระบบแอดมิชชั่นส์กลาง หันมารับตรงมากขึ้น บางสถาบันรับตรงสูงถึง 80% ของจำนวนที่รับทั้งหมด เช่น อักษรศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ของจุฬาฯ ไม่มีการรับในระบบแอดมิชชั่นส์กลางเลย โดยการรับตรงแต่ ละคณะจะแยกกันรับสมัครกันเองใน
ช่วงเวลาต่างกัน และจัดสอบกันเอง มีส่วนน้อยที่ใช้ผลคะแนนแกต-แพต ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ประกาศผลรับตรง และให้นักเรียนไปรายงานตัว ผลปรากฏว่าที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีนักเรียนมารายงานตัวไม่ถึง 50% ของจำนวนที่สอบผ่านข้อเขียน
"และในจำนวนนี้มีถึง 50% ที่เข้าสอบแพทย์ของกสพท.แต่ยังไม่ประกาศผล ซึ่งถ้าได้ติดแพทย์หรือทันตแพทย์ก็จะสละสิทธิ์เข้าเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งจะทำให้คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีคนเข้าเรียน
ประมาณ 25% ของจำนวนที่ต้องการจะรับ และที่น่าตกใจที่แผนก
คณิตศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รับนิสิตได้ 25 คนมีผู้ผ่านข้อเขียนมาสอบสัมภาษณ์ 8 คนเท่านั้น ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ได้รับไว้ทั้งหมดแต่เมื่อถึงเวลารายงานตัวมีนักเรียนมารายงานตัวแค่ 3 คนเท่านั้นถือเป็น 12% ของจำนวนที่ต้องการรับเท่านั้น และใน 3 คนนี้มีคนที่ตั้งใจเรียนจริงๆ แค่ 2 คนเท่านั้นเพราะอีก 1 คนกำลังรอผลสอบแพทย์ของกสพท." นายอำนวยกล่าว
นายอำนวย กล่าวต่อว่า สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นวิกฤติของการรับตรงของประเทศไทย ที่นอกจากจะสร้างภาระให้นักเรียนต้องทิ้งห้องเรียนไปกวดวิชาเพื่อให้มีความ รู้ก่อนที่โรงเรียนจะสอนเพราะการสอบเพื่อรับตรงทั้ง หมดนั้นจะสอบความรู้ทั้งหมดของม.ปลาย ในขณะที่นักเรียนเพิ่งจะเรียนในห้องเรียนได้แค่ม.4 กับม.5 เท่านั้น เป็น
การสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเด็กที่จนกับเด็กที่รวย และนักเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการสมัครสอบ ถ้านักเรียนสมัครทุกแห่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครและเดินทางมากถึง 2 หมื่นบาท และเสียเวลาสอบกันเกือบทุกสัปดาห์ในการเรียนม.6
"การรับตรงยัง ส่งผลร้ายกับประเทศชาติอีกใหญ่หลวง เพราะมหาวิทยาลัยต่างๆ แย่งกันรับเพื่อให้ได้นักเรียนครบตามที่ต้องการ ทำให้แผนการผลิตบุคลากรของชาติต้องล้มเหลว ซึ่งปัญหานี้เคยเกิดขึ้นแล้วก่อนปี 2504 จนคณะรัฐมนตรีต้องมีมติให้ใช้ระบบเอนทรานซ์ ผมจึงเรียกร้องฝ่ายการเมืองใช้อำนาจสั่งเลิกรับตรงหันมาใช้ระบบรับร่วมกัน" นายอำนวย กล่าว
ขอบคุณ: นสพ คมชัดลึก