แบบฝึกหัดท้ายคลิป

ดูคลิปเรื่องตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม)จบแล้ว ลองทำแบบฝึกหัดท้ายคลิป เพื่อฝึกฝนและทดสอบความเข้าใจกันค่ะ

 

 

วีดีโอเรื่องตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม)

 

ตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม) สอนโดย

พี่โต๋ วชิรา โอภาสวัฒนา

  • เมื่อเรียนเนื้อหาเรื่องตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม)เสร็จแล้ว ลองทำแบบฝึกหัดท้ายคลิปด้วยนะคะ เพื่อให้เรารู้เรื่องเนื้อหานี้ได้ถ่องแท้
  • เรียนควบคู่กับหนังสือค่ะ สามารถ Download เป็น PDF และ Print เองได้เลย หรือถ้าไม่อยาก Print ก็มีหนังสือเป็นเล่มให้สั่งซื้อค่ะ สั่งซื้อหนังสือ

 

เกี่ยวกับตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม)

โจทย์เพิ่มเติมแบบที่ยากขึ้นของการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม) พร้อมวิธีทำอย่างละเอียด แนะนำให้เรียนเนื้อหาหลักเรื่องการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม)ก่อน แล้วค่อยมาเรียนคลิปนี้ค่ะ

 

วิธีการใช้งาน VDO Player เวอร์ชั่นใหม่

(A) ส่วนควบคุมคลิปวีดีโอ สามารถกดหยุด เล่นต่อ ปรับความเร็ว ปรับเสียง ซูมเต็มหน้าจอ ได้ครับ

(B) รายละเอียดคลิปวีดีโอที่เล่นอยู่ ระดับชั้น ความยาว ชื่อผู้สอน หน้าในหนังสือ (กรณีสั่งซื้อหนังสือเรียนเพิ่ม) และ link download ชีทเรียนในรุปแบบ pdf ครับ

(C) Table of Content เป็นเหมือนสารบัญ คลิ๊กได้ด้วยนะว่าอยากเรียนเรื่องอะไร ไม่ต้องกรอเอง >_<

(D) แบบฝึกหัดท้ายคลิป ในส่วนนี้ จะทำก่อนหรือทำหลังดูคลิปก็ได้ทั้งนั้นครับ มีระบบตรวจคะแนนพร้อมคลิปเฉลยครับ

(E) คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับคลิป มีคำถามถามได้ตรงนี้เลยนะครับ

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น

ในกรณีที่วีดีโอไม่โหลด หรือค้าง ให้กด Ctrl+F5 (หรือ Ctrl+R) เพื่อสั่งให้โหลดใหม่นะครับ

 

 

พูดคุยเรื่อง ตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม)

จากวิดีโอเรื่อง ตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม) ถ้ามีอะไรติดใจ ยังอยากรู้ ไม่เคลียร์ อยากถามเกี่ยวกับเรื่อง ตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม) อย่ารอช้า ถามได้เลย อย่าแค่บอกว่าสงสัย ให้บอกว่าสงสัยอะไร ยังไง อยากทำอย่างไร จะได้รับคำตอบถูกจุดไปเลย ผู้สอนจะได้รับทราบและกลับมาตอบให้น้องได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วค่ะ

แต่ถ้าน้องมีคำถามนอกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับ ตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม) ให้ถามได้ที่ เว็บบอร์ด นะคะ

 

 

# 27 ก.ค. 2557, 03:30:17 แจ้งลบ
พี่โต๋ครับ
ตัวอย่างที่ 6 ที่ตอบ
( x-2 ) ( x- 10 )
ผมสงสัยตัว ( x - 10 ) ครับ
ก่อนหน้านั้นมันมาในรูปวงเล็บแบบนี้ [ ( x - 2 ) -8 ]
แล้วพี่ถอดวงเล็บออกมาเป็น x - 2 - 8 = x - 10
ผมเข้าใจแบบนี้ครับ มันต้องเอา -8 คูณกระจายเข้าไปที่ x กับ -2 รึเปล่าครับ เห็นพี่ถอดวงเล็บออกมาแล้วตอบเป็น x - 10 เลยงงครับ ขอบคุณมากๆ ครับ
# 27 ก.ค. 2557, 16:23:03 แจ้งลบ
ไม่ได้คูณกันอยู่นะ ดังนั้นถอดวงเล็บธรรมดาไม่ใช่คูณกระจาย

ถ้าแบบนี้คือ คูณกัน
(x - 2)(-8)
# 05 ธ.ค. 2565, 20:52:44 แจ้งลบ
ข้อ8นี่ดึง yกำลัง3 ออกมาได้ยังไงหรอคะ ที่ดึงออกมานอกวงเล็บแล้วได้
xyกำลัง3 (x-4)+2(x-4) อ่ะค่ะ
# 05 ธ.ค. 2565, 21:55:49 แจ้งลบ
ดึงออกมาจาก 2 พจน์แรกแค่นั้นค่ะ

ถ้างง ลองคูณกระจายกลับเข้าไปนะ จะได้เหมือนโจทย์เดิมค่ะ
# 20 พ.ย. 2558, 22:01:29 แจ้งลบ
Q-4590
กับ
Q-4595 ค่ะ
# 21 พ.ย. 2558, 17:46:24 แจ้งลบ
# 09 พ.ย. 2560, 17:34:13 แจ้งลบ
Q-4592 กับ Q-4593 ค่ะ
# 14 พ.ย. 2560, 17:35:05 แจ้งลบ
# 22 ม.ค. 2561, 19:40:56 แจ้งลบ
Q-4591 Q-4596 ค่ะ
# 23 ม.ค. 2561, 12:03:00 แจ้งลบ
Q-4591
a2(a - 3b) + 3ab2(a - 3b)
มองว่าดึงตัวร่วม (a - 3b) ออกค่ะ จะได้
= (a - 3b) [a2 + 3ab2]
แล้วในวงเล็บหลัง ดึง a ออกได้อีก จะได้
= (a - 3b)(a)[a + 3b2]
จัดรูปให้สวยงาม
= a(a - 3b)(a + 3b2) ตอบค่ะ

Q-4596
(a + 5)(a + 4) + 2a + 8
จัดรูป 2 พจน์หลังก่อน มองว่าดึง 2 ออกได้
= (a + 5)(a + 4) + 2(a + 4)
มองว่าดึง (a + 4) ออกได้
= (a + 4)[(a +5) + 2]
วงเล็บหลัง ถอดวงเล็บจัดรูป
= (a + 4)(a + 5 + 2)
= (a + 4)(a + 7) ตอบค่ะ
# 04 พ.ย. 2558, 19:19:44 แจ้งลบ
Q-4594
# 08 พ.ย. 2558, 05:48:16 แจ้งลบ
ax(a - x)3 - 2a2x(a - x)2
สังเกตนะ ตอนแรกให้ดูคร่าวๆ ก่อนว่าดึงอะไรได้ จะเห็นว่า พวก (a - x) นี่ดึงได้ แล้วค่อยคิดว่าดึงได้ที่เลขชี้กำลังเท่าไหร่ค่ะ
สรุปดึง (a - x)2 ออกได้
= [(a - x)2 ][ax(a - x) - 2a2x]
ในวงเล็บแดง คือ พวกที่เหลือจากการดึงตัวร่วม จัดการให้เรียบร้อยค่ะ คูณกระจาย ax ได้
= [(a - x)2 ][a2x - ax2 - 2a2x]
= [(a - x)2 ][a2x - ax2 - 2a2x]
= [(a - x)2 ][- ax2 - a2x]
เฉพาะวงเล็บหลัง ดึง ax ออกได้
= [(a - x)2 ][ax][-x - a]
เปลี่ยนหน้าตาวงเล็บ สลับที่อีกหน่อยจะเจอช้อยแล้วค่ะ
ปล.ทำไม่เหมือนกันได้นะ สุดท้ายได้คำตอบเท่ากันค่ะ
# 04 พ.ย. 2558, 19:10:26 แจ้งลบ
Q-4592
# 08 พ.ย. 2558, 05:14:34 แจ้งลบ
ข้อนี้ต้องสังเกตว่า
(n - m)2 = n2 -2mn + m2
และ
(m - n)2 = m2 -2mn + n2
จริงๆ แล้ว 2 ตัวนี้เท่ากันค่ะ

ดังนั้นจะได้
m(m- n)2 + n(n - m)2
= m(m- n)2 + n(m - n)2
ดึงตัวร่วม คือ (m- n)2 ได้
= (m- n)2(m + n) #ตอบค่ะ
# 04 พ.ย. 2558, 19:10:42 แจ้งลบ
Q-4593
# 08 พ.ย. 2558, 05:22:53 แจ้งลบ
(a + b)2 - (a - b)(a + b)
ดึง (a+b) ได้
= (a+b)[(a +b) -(a-b)]
บวกลบในวงเล็บสีแดงให้เสร็จค่ะ
= (a+b)[ a + b - a + b ]
= (a+ b)(2b)
ตรง 2b ไม่ต้องใส่วงเล็บแล้วก็ได้ค่ะ
แล้วก็ขยับมาอยู่ข้างหน้า ก็จะเหมือนช้อยแล้วค่ะ
# 09 ส.ค. 2558, 18:53:52 แจ้งลบ
เรียนไม่ไหวแล้วว
# 1 วินาทีที่แล้ว แจ้งลบ

ตอบ: ตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม)

กรุณา Login เข้าสู่ระบบเพื่อโพสต์ในบทสนทนานี้

 

 

หรือคุณสามารถ สมัครสมาชิกได้ฟรี สมัครวันนี้รับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สออนไลน์ฟรี 5 ชั่วโมง!

 

 

ขึ้นบน
อัพเดทล่าสุด: 16 เมษายน 2567   สงวนลิขสิทธิ์ 2553-2566 DekTalent.com ตัวอย่างการแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง(ดึงตัวร่วม) [วีดีโอ 7:41 นาที] - เรียนออนไลน์ที่เว็บ DekTalent.com Page Load Time: 0.886 วินาที IN